0 0
Read Time:5 Minute, 4 Second

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.)แจ้งว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.65 ได้จัดประชุมรับฟังความเห็นภาคเอกชน(Market Sounding)ในรูปแบบประชุมทางไกล สำหรับงานทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุน โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)หมายเลข 8 หรือM8สายนครปฐม-ชะอำ โดยที่ปรึกษาได้เสนอรายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย วงเงินลงทุนโครงการรวม 75,752ล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธา 56,747ล้านบาท งานเวนคืนที่ดิน 16,095ล้านบาท งานระบบ 2,910ล้านบาท

จุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 81(M81)สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จุดสิ้นสุดโครงการเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 4(ถนนเพชรเกษม)บริเวณ กม.188 อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ระยะทาง 109 กิโลเมตร(กม.)แบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้คำพูดจาก สล็อตวอเลท

1.ช่วงนครชียศรี-ตลาดจินดา ระยะทาง 9.3 กม. จุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับM81สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อ.นครชัยศรี และจุดสิ้นสุดเชื่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 375 อ.สามพราน จ.นครปฐม

2.ช่วงตลาดจินดา-ปากท่อ ระยะทาง 51.8 กม. จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับช่วงที่ 1 บริเวณทางหลวงหมายเลข 375 อ.สามพราน และสิ้นสุดเชื่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 35(ถนนธนบุรี-ปากท่อ)อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

3.ช่วงปากท่อ-ชะอำ ระยะทาง 48 กม. จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับช่วงที่ 2 บริเวณทางหลวงหมายเลข 35(ถนนธนบุรี-ปากท่อ)อ.ปากท่อ สิ้นสุดเชื่อมต่อมายังถนนเพชรเกษม อ.ท่ายางคำพูดจาก เล่นเกมสล็อต

รูปแบบจะเป็นทางระดับดินขนาด 4 ช่องจราจร มีจุดเข้า-ออก 8 แห่ง ประกอบด้วย 1.จุดเข้า-ออกนครชัยศรี เชื่อมกับถนนเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 338 และM81สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 2.จุดเข้า-ออก ตลาดจินดา เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 375 3.จุดเข้า-ออก บางแพ เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 325 4.จุดเข้า-ออก ราชบุรี เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 376 5.จุดเข้า-ออก วัดเพลง เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 3088 6.จุดเข้า-ออก ปากท่อ เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 35 7.จุดเข้า-ออก เขาย้อย เชื่อมกับถนนเพชรเกษมและ 8.จุดเข้า-ออก ท่ายาง เชื่อมกับถนนเพชรเกษม และM8สายชะอำ-ชุมพร โดยมีที่พักริมทาง (Rest Area)จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1.บริเวณนครชัยศรี 2.บ้านแพ้ว 3.ราชบุรี 4.เขาย้อย และ 5.บ้านลาด

ส่วนการจัดเก็บค่าค่าธรรมเนียมผ่านทางจะใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือระบบ M-Flow ซึ่งจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง โดยกำหนดอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสมดังนี้ รถยนต์ขนาด 4 ล้อ ค่าแรกเข้า 10 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 1.5 บาท/กม., รถยนต์ขนาด 6 ล้อ ค่าแรกเข้า 16 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 2.4 บาท/กม. และรถยนต์ขนาด 10 ล้อ ค่าแรกเข้า 23 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 3.4 บาท/กม.

ขณะที่ระยะเวลาสัญญาร่วมลงทุนประมาณ 33 ปี แบ่งเป็น 3 ปีในการก่อสร้าง และ 30 ปี หลังเปิดให้บริการ โดยรูปแบบการร่วมลงทุนโครงการเบื้องต้นจากการศึกษาพบว่า โครงการจะดำเนินการรูปแบบการร่วมลงทุนPPP Net Costโดยปัจจัยหลักการร่วมลงทุนขึ้นอยู่กับเอกชนเข้ามาช่วยลงทุนมากน้อยเพียงใด หากเอกชนมีความพร้อมด้านการลงทุน วงเงิน 50,000 ล้านบาท ภาครัฐมีความเป็นไปได้สูงที่จะเปิดรูปแบบการลงทุนPPP Net Costแต่ถ้าเอกชนไม่มีความสามารถในการลงทุน โดยให้ ทล. เป็นผู้ลงทุนเอง จะทำให้ความเป็นไปได้โครงการอยู่ในรูปแบบPPP Gross Costเหมือนกับโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) โดยภาครัฐลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมดและเปิดประมูลในรูปแบบPPP Gross Cost

นอกจากนี้โครงการเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติสามารถเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ แต่จะต้องเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัทในไทย เพราะเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ถือหุ้นในไทยเกิน 51% ส่วนการถือหุ้นอีก 49% ไม่ได้จำกัดบริษัทไทยหรือบริษัทต่างชาติ

หลังจากประชุมสัมมนาครั้งนี้จะนำความคิดเห็นไปประกอบผลการศึกษาให้สมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นรายงานการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการให้เอกชนร่วมลงทุนแล้วเสร็จในปี 65 ก่อนจะเสนอขออนุมัติโครงการ และคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุน ปี 65-66 เพื่อเข้าสู่กระบวนการเวนคืนที่ดินและจ่ายค่าชดเชยทรัพย์สิน ก่อสร้างในปี 66-69 และเปิดให้บริการในปี 70

ส่วนผลคาดการณ์ปริมาณจราจรและรายได้ค่าธรรมเนียมนั้น จากการวิเคราะห์ด้านจราจรพบว่า ในปีเปิดให้บริการปีแรก จะมีปริมาณจราจรเข้าระบบเฉลี่ย 46,306คันต่อวัน ซึ่งสามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านทางประมาณ 1,725ล้านบาทต่อปี และในปีที่ 30 ปริมาณจราจรเข้าระบบเพิ่มขึ้น เป็นประมาณ 137,606คันต่อวัน และสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางเพิ่มขึ้นเป็น 7,965ล้านบาทต่อปี

สำหรับM8สายนครปฐม-ชะอำ เป็นส่วนหนึ่งของM8สายนครปฐม-นราธิวาส(ด่านสุไหงโก-ลก)ตามแผนแม่บทพัฒนามอเตอร์เวย์ระยะ 20 ปี(ปี 60-79)เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากภาคกลางสู่ภาคใต้ บรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนทางหลวงหมายเลข 4(ถนนเพชรเกษม)เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยให้การเดินทางสู่ภาคใต้คล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ด้านผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นว่า เกี่ยวกับความชัดเจนการพัฒนาแบ่ง 3 ช่วงในการก่อสร้าง โดยบริษัทที่ปรึกษาให้ข้อมูลว่าโครงการมีมูลค่าการลงทุนที่สูง แบ่งการก่อสร้างออกเป็นระยะๆ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 1 คือ ช่วงนครชัยศรี-ตลาดจินดา และช่วงตลาดจินดา-ปากท่อ เนื่องจากผลการศึกษาทั้ง 2 ช่วงมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณการจราจรที่หนาแน่นกว่าช่วงปากท่อ-ชะอำ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 2 คือ ช่วงปากท่อ-ชะอำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นจากภาคเอกชนต่อความสนใจการก่อสร้างเป็นระยะๆ หรือการก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการฯ

นอกจากนี้มีการสอบถามถึงข้อสรุปรูปแบบการลงทุน กรณีที่ประชาชน จ.เพชรบุรี ที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางโครงการ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วยกับผลการศึกษาโครงการ M8 โดยที่ปรึกษาให้รายละเอียดว่า ทล. อยู่ระหว่างทำความเข้าใจ ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหาจุดตัดตามแนวเส้นทาง เพราะมีชุมชนอาศัยอยู่จำนวนมาก รวมทั้งจัดให้มีถนนบริการ อำนวยความสะดวกผู้ใช้ทางบริเวณสองข้างทางด้วย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin